วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จริยธรรมและความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ

1. จงอธิบาย เปรียบเทียบ พร้อมยกตัวอย่างของไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน
ตอบ - ไวรัส เวิร์ม คือ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ที่กระจายตัวเอง เช่นเดี่ยวกับไวรัส โดยการแพร่กระจาย จากคอมพิวเตอร์ สู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผ่านอีเมล์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้เปิดไฟล์อ่าน เวิร์มจะเริ่มทำงานโดยการคัดลอกตัวเองและส่งผลจากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องของคนอื่น ๆ ที่มีรายชื่ออยู่ใน E-mail เช่น “Nimda, “W32.Sobig”, W32.bugbeor” “W32.blaster” and “love bug” ซึ่งเป็นไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ที่กำหนดหัวเรื่องว่า “Love You”ม้าโทรจัน (Trojan torse) เป็นโปรแกรมรวมแต่แตกต่าง จากไวรัสและเวิร์มที่ ม้าโทรจัน จะไม่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่น ๆ แต่ ม้าโทรจันจะแฝงอยู่กับโปรแกรมอื่น ๆ ที่อาจส่งผ่านมาทางอีเมล์ เช่น Ziped_filessexe. เมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์ โปรแกรมก็จะลบไฟล์ที่อยู่ในฮาร์ดิสก์

2. สปายแวร์ (Spyware) คืออะไร และมวิธีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
ตอบ - คือ ไวรัสที่เป็นไฟล์ภาพกราฟิก มีขนาดเล็กและซ่อนตัวอยู่ที่เว็บเพจ ที่รวบรวมข้อมูลและพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ แล้วส่งข้อมูลเหล่านั้นกลับไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และวิธีการติดตั้งของเครื่อง คอมพิวเตอร์ คือ การติดตั้งจากแผ่น Driver หรือ การดาว์นโหลดจากอินเทอร์เน็ตมา เช่น โปรแกรมAd-aware ,Spycop เป็นต้น

3. ท่านมีวิธีการหลีกเลี่ยงการเป็นเป้าหมายของสแปมเมลอย่างไร
ตอบ - 3.1 เป็นการบล็อกสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องจดหมาย
3.2 การติดตั้งโปรแกรม แอนตี้สแปม (Aati-Spam Program) ที่ช่วยกรองและกำจัดสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องเมล์

4. ท่านคิดว่าการทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน ท่านมีความเห็นอย่างไร
ตอบ - คือ การทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เพราะซีดีเพลงที่ได้มานั้น ไม่ได้มาโดยง่ายเลย และยังเป็นลิขสิทธิ์ ของค่ายเพลงนั้นๆ ด้วย และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ต ถือว่าผิดจริยธรรมเหมือนกัน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาสูง ดังนั้นการดาว์นโหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นเรื่องปกติ

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต (Intranet and Extranet)
เนื่องจากอินเทอร์เน็ตได้รับความสนใจและมีประโยชน์มากสำหรับองค์กรต่าง ๆ เพราะสามารถสื่อสารคนจำนวนมากเข้าด้วยกัน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลโดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำถึงแม้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้จะต่างรุ่นต่างแบบกัน ในอดีตองค์กรหลาย ๆ แห่งเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลในการลงทุนกับเทคโนโลยีที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งผลที่ได้บางครั้งก็ไม่น่าพอใจ 
ด้วยเหตุที่องค์กรต่าง ๆ จึงได้นำเทคโนโลยีอินทราเน็ตเข้ามาใช้ เพื่อเป็นคำตอบสำหรับการสื่อสารข้อมูลภายในองค์กร โดยใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
อินทราเน็ต (Intranet) หมายถึง เครือข่ายเฉพาะส่วนขององค์กรหรือหน่วยงานที่นำซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์แบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ อินทราเน็ตจึงเป็นเครือข่ายเพื่อระบบงานภายใน โดยมุ่งเน้นข้อมูลและสารสนเทศเพื่อบริการแก่บุคลากร โดยมีคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นอินเทอร์เน็ตซอฟต์แวร์เพื่อให้บริการข้อมูลในรูปแบบเดี่ยวกับที่ใช้งานในอินเทอร์เน็ตและขยายเครือข่ายไปทุกแผนก ให้บุคลากรสามารถเรียกค้นข้อมูลและสื่อสารถึงกันได้
ประโยชน์ของอินทราเน็ต
1.             เผยแพร่เอกสารที่ต้องการสื่อสารให้พนักงานทราบทางอินทราเน็ตโดยนำไปใส่ในเว็บ ซึ่งพนักงานสามารถเปิดดูได้ วิธีนี้สามารถประหยัดกระดาษและลดค่าใช้จ่ายได้มาก
2.             ลดช่องว่างในการประสานงานระหว่างพนักงาน สามารถนำข้อมูลที่ต้องการให้ทีมงานออกความคิดเห็น รวบรวมการตอบสนองที่ได้มาประมวลผลได้ทันทีและสามารถสื่อสารความคืบหน้าของงาน ตามงาน และนัดเวลาประชุมได้โดย
3.             ผ่านอินทราเน็ต
4.             สามารถเชื่อมต่อระบบอินทราเน็ตกับฐานข้อมูล พนักงานสามารถค้นหาและสอบถามข้อมูลที่ต้องการได้ในทันที
5.             ลดเวลาในการเรียนรู้ พนักงานใช้อินเทอร์เน็ตเป็นอยู่แล้วไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้ ลดค่าใช้จ่ายในการอบรม
ส่วนเอ็กทราเน็ต เป็นระบบเครือข่ายที่เกิดจากการประยุกต์ใช้อินทราเน็ต โดยขยายขอบเขตการใช้เครือข่ายจากภายในไปยังภายนอกองค์กร ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจมักมีเครือข่ายกัน เช่น ระหว่างผู้ขายวัตถุดิบกับองค์กร หรือธุรกิจที่มีสามารถอยู่ห่างไกลกันคนละจังหวัด เป็นต้น
ประเภทของ E-Commerce
ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)
คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G)
คือการประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิวัฒนาการบนอินเตอร์เน็ต


HTML

HTML หรือ HyperText Markup Language เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีโครงสร้างการเขียนโดยอาศัยตัวกำกับ (Tag) ควบคุมการแสดงผลข้อความ, รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ผ่านโปรแกรมเบราเซอร์ แต่ละ Tag อาจจะมีส่วนขยายที่เรียกว่า Attribute สำหรับระบุ หรือควบคุมการแสดงผล ของเว็บได้ด้วยHTML เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C) จากแม่แบบของภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language) โดยตัดความสามารถบางส่วนออกไป เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย และด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้บริการ WWW เติบโตขยายตัวอย่างกว้างขวางตามไปด้วย Tag

Tag เป็นลักษณะเฉพาะของภาษา HTML ใช้ในการระบุรูปแบบคำสั่ง หรือการลงรหัสคำสั่ง HTML ภายในเครื่องหมาย less-than bracket ( < ) และ greater-than bracket ( > ) โดยที่ Tag HTML แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือTag เดี่ยวเป็น Tag ที่ไม่ต้องมีการปิดรหัส เช่น <HR>, <BR> เป็นต้น

Tag เปิด/ปิด

เป็น Tag ที่ประกอบด้วย Tag เปิด และ Tag ปิด โดย Tag ปิด จะมีเครื่องหมาย slash ( / ) นำหน้าคำสั่งใน Tag นั้นๆ เช่น <B>…</B>, <BLINK>…</BLINK> เป็นต้น

เว็บเพจ คือ คำที่ใช้เรียกหน้าเอกสารต่างๆ ที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ HTML (Hyper Text Markup Language) เปรียบเสมือนหน้ากระดาษแต่ละหน้าที่มีเรื่องราวต่างๆมากมายบรรจุอยู่ในนิตรสาร แต่แตกต่างกันตรงที่มีการเชื่อมโยง (Link) ซึ่งเราสามารถคลิกไปที่หน้าใดของโฮมเพจก็ได้

โฮมเพจ คือคำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ ซึ่งประกอบไปด้วยเมนูต่างๆและเรื่องราวต่างๆมากมายคล้ายกับหน้าปกนิตรสารบ้านเรา ดังนั้นหากเราออกแบบหน้าโฮมเพจให้สวยงามและน่าสนใจ โอกาสที่ผู้ชมจะแวะเข้ามาเยี่ยมเยียนโฮมเพจของเราก็จะยิ่งมากตามไปด้วย

 WWW (World Wide Web)

    WWW หรือ Web ถูกสร้างขึ้นในปี 1989 ที่ CERN (The European Laboratory for Particle Physics) จากนั้นมามันก็เติบโตอย่างรวดเร็ว จนถึงปัจจุบันนี้ Web Traffic คิดเป็น 1/3 – ½ ของ Internet Traffic ทั่วโลก

    Web เป็นส่วนหนึ่งของ Internet ที่ใช้ Hypertext Transfer Protocol (HTTP) เพื่อแสดง Hypertext และรูปภาพ Hypertext หมายถึงการสร้างเอกสารแบบตัวหนังสือที่มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่น (Interlinked)

    คุณสามารถ Click ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวหนังสือบนเอกสารเพื่อจะไปยังเอกสารอื่นๆ ได้ Web ถือกำเนิดบนพื้นฐานของแนวความคิดแบบ Hypermedia ครอบคลุม Hypertext นั่นคือคุณสามารถใช้ทุกอย่างของสื่อต่างๆ เป็นตัวเชื่อมโยงกับเอกสารอื่นๆ ได้หมด ไม่ว่าจะเป็น ตัวอักษร, รูปภาพ , เสียง , ภาพเคลื่อนไหว , และอื่นๆ
 Web Browser  คือโปรแกรมที่ใช้สำหรับเป็นประตูเปิดเข้าสู่โลก WWW (World Wide Web)  หรือพูดกันอย่างง่ายก็คือโปรแกรม
 ที่ใช้สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ต     ที่เรานิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser)  จะเข้าใจในภาษา HTML นี้คือเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ภาษา HTML ในการสร้างเว็บเพจ เพราะโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์นั่นสามารถ เข้าใจ และสามารถทำงานตามคำสั่งของภาษา HTMLได้
ฉะนั้นเมื่อนักเรียนเขียนเว็บเพจด้วยภาษา HTMLนักเรียนจะทราบว่าผลลัพธ์ของคำสั่งต่าง ๆ  นั่นทำงาน ถูกต้องหรือไม่อย่างไร ต้องใช้โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ เปิดดู ซึ่งโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมใช้ ในปัจจุบัน มีหลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม Firefox , โปรแกรมInternet Explorer หรือโปรแกรม Netscape Comunicator แต่ส่วนมากนิยมใช้ โปรแกรม Internet Explorer หรือเรียกย่อ ๆ ว่า IE เพราะเป็นโปรแกรมที่มี มาพร้อมกับการติดตั้งระบบปฏิบันการวินโดวส์อยู่แล้ว ไม่ต้องไปหาโปรแกรมเพิ่มเติม
URL     The Uniform Resource Locators (URL) เป็นเสมือนที่อยู่ของเอกสารบนเว็บ ทุกๆ เอกสารจะต้องมี URL เป็นของตัวเอง แต่ละส่วนของ URL เป็นสิ่งที่ใช้ระบบข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งของเอกสาร ตัวอย่างเช่น
http://www.xvlnw.com/index.php?name=download
แต่ละ URL ประกอบไปด้วยส่วนพื้นฐาน 3 ส่วน คือ Protocol, Server Machine และ File Protocol ที่นิยมใช้ เช่น http:// , ftp:// , gopher:// , news://Server machine อาจเป็นชื่อเครื่อง หรือ เลข IP ก็ได้ หรือบางครั้งอาจมีเครื่องหมาย  : (Colon) ตามด้วยหมายเลข อยู่ต่อจาก Server machine เช่น proxy.chiangmai.ac.th:8080 เป็นต้น ซึ่งตัวเลขนั้นหมายถึง Port ที่ใช้ในการับส่งข้อมูลสำหรับ Web Server โดยปกติแล้ว  Port มาตรฐานของ Web Servers คือ 80 ซึ่งจะระบุหรือไม่ก็ได้
File หากไม่มีการระบุชื่อไฟล์แล้ว Web Server จะมองหาไฟล์ที่ชื่อ index.html แล้วส่งไปให้ Web browser โดยอัตโนมัติ (หรือชื่ออื่นๆ ตามการกำหนดเงื่อนไขของแต่ละ  Web Server)
โปรโตคอล (Protocol) คือระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อสารได้สำเร็จ
การเชื่อมโยงหลายมิติ หรือ ไฮเปอร์ลิงก์ (อังกฤษ: hyperlink) นิยมเรียกโดยย่อว่า ลิงก์ (อังกฤษ: link) คือคำหรือวลีต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารข้อความ ใช้สำหรับเปิดเอกสารอื่นที่เชื่อมโยงด้วยวิธีการคลิกลงบนคำหรือวลีนั้น โดยเฉพาะกับเว็บเพจซึ่งจะทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์ ข้อความที่เป็นลิงก์มักจะปรากฏเป็นสีหรือรูปแบบที่โดดเด่นกว่าข้อความรอบ ข้าง ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถคลิกบนลิงก์เพื่อเปลี่ยนหน้าไปยังเว็บเพจที่ กำหนดไว้ แทนที่จะพิมพ์ในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์โดยตรง
ไฮเปอร์ลิงก์สามารถใช้เป็นการอ้างอิงภายในเอกสารข้อความหลายมิติ นอกจากนี้การคลิกบนลิงก์อาจเป็นการเรียกใช้งานสคริปต์ที่เขียนไว้โดยผู้ พัฒนาเว็บก็ได้
IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1? เป็นต้น
การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครื่อง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
-                   Network Address
-                   Computer Address
Bandwidth (แบนด์วิดท์) คือ คำที่ใช้วัดความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยมากเรามักวัดความเร็วของการส่งข้อมูลเป็น bps (bit per second) , Mbp (bps*1000000) เช่น Bandwidth ของการใช้สายโทรศัพท์ในประเทศไทย เท่ากับ 14.4 Kbps,Bandwidth ของสายส่งข้อมูลของ KSC ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอเมริกาเท่ากับ 2 Mbps เป็นต้น
แต่ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทความมารู้จักก่อนว่าอะไรคือ Bandwidth และ Latency ความหมาย Bandwidth คือ ความกว้างของช่องทางในการรับ-ส่งข้อมูล ส่วน Latency คือ เวลาที่ใช้ไปในการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยความจำ เมื่อเรารู้ความหมายกันแล้วคราวนี้เรามารู้จักถึงหลักการต่างๆ ของ Bandwidth และ Latency
ในการพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบบัสหลายคนมักจะนึกถึง Bus Bandwidth (Bandwidth ก็คือความกว้างของเส้นทางในการส่งข้อมูล ที่เราสามารถเปรียบเทียบได้กับเลนถนน ยิ่งมีเลนกว้างเท่าไรรถยนต์ซึ่งเปรียบได้กับข้อมูลก็สามารถวิ่งได้สะดวกมาก ขึ้นเท่านั้น) ที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลที่รับ-ส่งบนระบบบัส Bus Bandwidth ด้วยปริมาณจำนวนข้อมูลของเลข single number (0 หรือ 1) ที่ระบบบัสสามารถรองรับได้ แต่ปริมาณข้อมูลของเลข single number อาจแปรผันได้ตามเวลา เราจึงพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลผ่านทาง Bus Bandwidth ด้วย Peak bandwidth Bus หรือ ความกว้างสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูลของบัส ซึ่งวัดด้วยจำนวนข้อมูลสูงสุดที่ รับ-ส่งกันระหว่างซีพียูและแรมภายในหนึ่งคาบเวล
จากความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูจากรูปที่ 1 ถ้าเรามาคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียู ที่สัญญาณนาฬิกา 100 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบของสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้
8 bytes * 100MHz = 800 MB/s
   และถ้าหากเราคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูที่ 133 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้
8 bytes * 133MHz = 1064 MB/s
Domain Name ( โดเมนเนม ) คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ ชื่อเว็บไซต์คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ โดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป
Web1.0 ยุคแห่งการเริ่มต้น “ Read - Only” เป็นการกล่าวถึงลักษณะของการแสดงเนื้อหาและ การโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของ เว็บไซต์กับผู้เข้าชมเว็บไซต์ในยุค web1.0 คือเว็บไซต์ ต่างๆที่นำเสนอข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ด้านต่างๆ ซึ่งจะส่งเนื้อหาต่างๆ ขึ้นหน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนอผู้ที่มาเข้าชม ในทฤษฎีของการสื่อสารถือว่าเป็นการสื่อสารทางเดียว ( one - way cmomunication ) เพราะไม่มีการตอบรับจากผู้ที่ได้รับข้อมูล
Web2.0ยุคแห่งการพัฒนาการและการเชื่อมโยง“ Read – Write” เป็นการกล่าวถึงลักษณะของ การแสดงเนื้อหาและการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของ เว็บไซต์กับผู้เข้าชมเว็บไซต์ในยุคWeb 2.0 มีลักษณะ เป็นการที่มีการแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น มากกว่าที่จะเป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว โดยผู้เข้าชมสามารถทำการแสดงความคิดเห็น หรือทำการสร้างเนื้อหาได้ อีกทั้งผู้เข้าชมยังสามารถกำหนดคุณค่าของเว็บไซต์หรือบทความผ่านกระบวนการ ต่างๆ เช่นการให้คะแนนเนื้อหา การแนะนำบทความให้กับผู้อื่นเป็นต้น
Web3.0ยุคแห่งโลกอนาคต“ Read – Write – Execute” เป็นลักษณะของการแสดงเนื้อหาและการโต้ตอบกันระหว่างเจ้าของ เว็บไซต์และผู้เข้าชมเว็บไซต์ในยุค Web 3.0 ซึ่งมีลักษณะเป็นการที่ผู้ใช้สามารถอ่าน เขียน และทำการจัดการเนื้อหาและปรับแต่งแก้ไขข้อมูลหรือระบบได้อย่างอิสระ เว็บไซต์จะมี การพัฒนาให้กลายเป็นSemantic Web ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายของข้อมูลขึ้นมาเพื่อความสะดวก   ในการค้นหาและเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วคอมพิวเตอร์สามารถแสดงข้อมูลเฉพาะส่วนที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ได้

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น


เครือข่าวคอมพิวเตอร์


ความหมายและความสำคัญของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
     ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการค้าหรือ ISP (Internet Service Providers) ถือเป็นกระดูกสันหลังของอินเทอร์เน็ต ISP เป็นผู้บริหารจัดการคอมพิวเตอร์เครื่องหลักที่ใช้ต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตซึ่งเรียกกันว่า เซิร์ฟเวอร์ (Servers) เซิร์ฟเวอร์ถือเป็นจุดผ่านเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ บริการทั้งหลายISP ให้บริการต่อสาย (dial-up access) เข้าไปสู่อินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงกลุ่มข่าว (newsgroups) อีเมล์หรือ ห้องสนทนา (chat) ได้ ผู้ใช้บริการสามารถ บันทึกข้อมูลแบบอัพโหลด หรือดาวน์โหลด โดยวิธีการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต และ ISPเป็นผู้ให้บริการกลไกสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเหล่านี้หากมีใครต้องการสร้างเว็บไซต์ของตนเอง ISP จะเป็นผู้จัดสรรเนื้อที่และให้ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อช่วยให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลได้อย่างถูกต้องเมื่อมีคนขอผ่านเข้าไปดูISP จะเป็นผู้กำหนดหมายเลขที่อยู่ไอพี (IP - Internet Protocol) ให้แก่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่ใช้บริการที่อยู่ไอพี (IP Address) นี้คือหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ ที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต และเป็นตัวบอกเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ว่าจะค้นหาคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ได้ที่ไหน ISP มีระบบเก็บบันทึก IP Address และชื่อที่อยู่ของสมาชิกที่ใช้บริการ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสืบสาวไปถึงตัวนักล่อลวงเด็กทางอินเทอร์เน็ตได้ แม้ว่าผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่นิยมจ่ายค่าบริการโดยบัตรเครดิตหรือให้ส่งใบเสร็จรับเงินไปตามที่อยู่บ้าน ซึ่งทำให้ทราบหลักฐานของผู้ใช้บริการ แต่มีหลายครั้งที่ผู้ใช้บริการจำนวนมากก็ใช้ระบบการจ่ายล่วงหน้า หรือหลายคนใช้การส่งตั๋วแลกเงินหรือใช้การส่งเอกสารผ่านที่อยู่ทางตู้โปรษณีย์ ทำให้ไม่สามารถสืบค้นหลักฐานของผู้ใช้บริการได้ ดังนั้น การตรวจ เบอร์โทรศัพท์ที่โทรเข้าไปที่ IP Address และเวลาที่โทรจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการดำเนินการทางกฎหมายกับอาชญากรรมที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือล่อลวงเด็ก มีหลายประเทศที่เริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยไม่คิดมูลค่า ไม่มีการคิดค่าต่อสาย มีเพียงเฉพาะค่าโทรศัพท์เท่านั้น บริการฟรีแบบนี้ไม่นิยมเก็บประวัติของผู้ใช้บริการเป็นหลักฐาน ดังนั้น จึงง่ายแก่การใช้หลักฐานปลอม ในกรณีที่มีการประกอบอาชญากรรมขึ้น ผู้รักษากฎหมายต้องอาศัยความร่วมมืออย่างเต็มที่จาก ISP เพื่อจับผู้ละเมิดกฎหมายซึ่งอาจเป็นผู้ใช้บริการที่อยู่ในเครือข่าย อย่างไรก็ตาม ISP อาจกลัวว่า หากเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการโดยไม่ได้รับอนุญาต จะเป็นการละเมิดต่อพันธกรรมที่มีต่อลูกค้า และอาจขัดกับหลักกฎหมายด้านสิทธิส่วนบุคคลด้วย หรือหมายถึงหน่วยงานที่บริการ ให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของบริษัท เข้ากับเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทั่วโลก เสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ต้องการข้อมูลต่างๆ ก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการใช้บริการอินเตอร์เน็ต ผ่านผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วไป หลักการพิจารณา ISP นั้น ผู้เลือกใช้บริการ จำเป็นต้องศึกษาว่า ISP นั้นมีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูง มากเพียงใด มีสมาชิก ใช้บริการมากน้อยขนาดไหน เพราะปัจจัยต่างๆเหล่านี้ จะมีผลต่อความเร็ว ในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย
โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถ เลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ
• ซื้อชุดอินเทอร์เน็ต สำเร็จรูปตามร้านทั่วไปไปใช้
• สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISPโดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียด ในการให้บริการของแต่ละที่นั้น จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด

ในปัจจุบันผู้ให้บริการ Internet (ISP) ได้มีการพัฒนา การให้บริการ Internet จากเดิม 56 K เป็นระบบ ADSL ที่มีความเร็วสูงขึ้น เช่น 128 K, 256 K, 512 K , 1M หรือมากกว่า เช่น ISP Maxnet

ความหมายของโมเด็ม (Modems)
โมเด็ม (Modems)
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท
โมเด็ม (อังกฤษ: modem ย่อมาจากคำว่า modulate and demodulate) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณอะนาล็อกให้อยู่ในรูปดิจิทัล และแปลงกลับในทิศทางตรงข้าม จุดประสงค์ของโมเด็มคือการสร้างสัญญาณอะนาล็อกที่ง่ายต่อการส่งข้อมูล และสัญญาณดิจิทัลที่ง่ายต่อการประมวลผล
อุปกรณ์หลายชนิดสามารถถือว่าเป็นโมเด็มได้ แต่โมเด็มประเภทที่แพร่หลายที่สุดคือโมเด็มที่แปลงเลข 0 และ 1 ซึ่งใช้ในคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณเสียงที่ส่งผ่านในสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิม และทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงกลับมาเป็นข้อมูลดิจิทัลในอีกด้านหนึ่งของผู้รับสัญญาณ
ปัจจุบันมีโมเด็มชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่น เคเบิลโมเด็ม, ADSL โมเด็ม, โมเด็มที่ใช้รับสัญญาณไมโครเวฟ เป็นต้น

สายนำสัญญาณ TRANSMISSION LINES
ในการรับส่ง สัญญาณ วิทยุนั้น สายนำสัญญาณก็มีความสำคัญ ไม่น้อยไปกว่า สายอากาศเลย การจะเลือกใช้สายนำสัญญาณ การจะเลือกใช้สายนำสัญญาณให้เหมาะสมกับงานนั้น ต้องศึกษาเรื่องของสายนำสัญญาณ ให้ดีก่อน สายนำสัญญาณ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. Balance Line คือสายนำสัญญาณ ที่มีตัวนำ 2 เส้น ทีมีลักษณะเหมือนกัน นำมาต่อขนานกัน โดยมีตัวกลางกั้นไว้อาจจะเป็นอากาศ ก็ได้ เช่นสายอากาศ Open wire จะมีฉนวนยึดสายเอาไว้เป็นระยะ เพื่อความแข็งแรง และคงลักษณะการขนานกันเอาไว้

สูตรการคำนวณ ค่า impedance ของสายนำสัญญาณแบบ Balance Line

ZO = ค่าimpedance ของสายนำสัญญาณแบบ Balance Line
S = ระยะห่างระหว่างตัวนำทั้งสอง (วัดจากแกนกลางของตัวนำ)
d = เส้นผ่านศูนย์กลางของลวดตัวนำ (ใช้หน่วยเดียวกับ S)

2.Unbalance Line
คือสายนำสัญญาณที่มีตัวนำ 2 เส้น มีลักษณะต่างกัน หรือที่เรารู้จักกันดี ในนาม Coaxial Cable สายนำสัญญาณแบบนี้ถูกสร้างขึ้นมาทดแทนสายสัญญาณแบบ Balance Line เพื่อลดการแพร่กระจายคลื่น ออกจากสายนำสัญญาณ และบ้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีกว่า สามารถ ติดตั้งใกล้ ๆ โลหะได้

สูตรการคำนวณ ค่า impedance ของสายนำสัญญาณแบบ Unbalance Line

ZO = ค่าimpedance ของสายนำสัญญาณแบบ Unbalance Line
b = เส้นผ่านศูนย์กลางของชีลด์
a= เส้นผ่านศูนย์กลางของลวดตัวนำที่อยู่ตรงกลาง (ใช้หน่วยเดียวกับ b)
ในการติดตั้งสายแบบ balance Line เราต้องป้องกันไม่ให้ความชื้น เกิดขึ้นบนสาย เพราะความชื้นทำให้ ค่าไดอิเล็คตริก เปลี่ยนแปลงไป จะทำให้ค่า impedance ของสายเปลี่ยนแปลงไปด้วย นอกจากนี้ การติดตั้งสายนำสัญญาณต้องห่างจากตัวนำหรือว่าโลหะอื่น ๆ โดยระยะห่างจากตัวนำอื่นประมาณ 2-3 เท่าของระยะห่างระหว่างตัวนำทั้งสอง สำหรับสาย Coaxial นั้นจะมีชีลด์ ต่อลงกราวด์ ฉนั้นการติดตั้งจึงไม่ค่อยมีปัญหา ติดตั้งใกล้โลหะได้ ปัญหาเรื่องความชื้นน้อยกว่า เว้นแต่ความชื้นจะเข้าไปในสาย สรุปได้ว่า สายแบบ balance จะมีการสูญเสียน้อย แต่สาย Coaxial จะติดตั้งง่ายกว่า
ค่าความเร็วของคลื่นวิทยุในสายนำสัญญาณ (Velocity Factor) ในสายนำสัญญาณนั้น คลื่นวิทยุ เดินทางได้ช้ากว่า ในบรรยากาศ และช้ากว่า ความเร็วของแสง ซึ่งค่าความเร็วของคลื่นในสายนำสัญญาณนี้สำพันธ์กับค่าคงที่ของวัสดุทีนำมาทำเป็น Dielectric (Dielectric constant ) โดยทั่วไปแล้ว ค่าความเร็วของคลื่นในสาย เราเรียกว่า ตัวคูณความเร็วของสาย เช่น สาย เบอร์ RG- 58 A/U มีตัวคูณความเร็วเท่ากับ 0.66 ดังนั้นความเร็วของคลื่นในสาย คือ 0.66 X 300 ล้านเมตร / วินาที เท่ากับ 1.98 ล้านเมตร / วินาที

สูตรการคำนวณค่าความเร็วในสาย (velocity factor) มีหน่วยเป็น ฟุต เมื่อสายนำสัญญาณนำมาใช้ปรกติ ตัวคูณความเร็วของสายแทบไม่ต้องสนใจ แต่ถ้านำสายสัญญาณมาต่อเพื่อ ขนานกับสายอากาศหลาย ๆ ต้น เข้าเป็นชุด เช่น การอากาศ ยากิ หลาย ๆ สแต็ก หรือสายอากาศ Dipole หลาย ๆ ห่วง (สาย phasing line) เราต้องนำความเร็วตัวนี้มาเกี่ยวข้องด้วย

ADSL
ADSL ( Asymmetric Digital Subscriber Line ) เป็นรูปแบบของ DSL ซึ่งกำลังจะมีการใช้งานอย่างกว้างขวางตามที่อยู่อาศัยและธุรกิจต่าง ๆ ADSL ได้รับการเรียกว่า “asymmetric (อสมมาตร) เพราะใช้การติดต่อแบบสองทางหรือ duplex bandwidth ได้มีการจัดแบ่ง bandwidth ส่วนใหญ่ให้กับการส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้ปลายทาง ( downstream ) และมีเพียง bandwidth ส่วนน้อยในการรับข่าวสารจากผู้ใช้ปลายทางกลับมา ( upstream ) เนื่องจากว่าระบบอินเตอร์เน็ตและเว็บประเภทกราฟฟิคหรือมัลติมีเดีย มีความต้องการ bandwidth มากในการส่งไปยังผู้ใช้ แต่ผู้ใช้เรียกหรือตอบสนองไม่ต้องการ bandwidth มากนัก การใช้ ADSL สามารถส่งข้อมูลด้าน downstream ได้ถึง 6.1 megabits ต่อวินาที และรับข้อมูลด้าน upstream ได้ถึง 640 Kbps การใช้ bandwidth ด้าน downstream สูง หมายถึงสายโทรศัพท์ สามารถทำภาพเคลื่อนไหว เสียง และภาพ 3 มิติมายัง เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ได้ ส่วน bandwidth ขนาดเล็กที่มีการจัดแบ่ง เพื่อให้สามารถใช้โทรศัพท์ได้โดยไม่ต้องมีการแบ่งสาย

SDSL
SDSL ( Symmetric DSL ) เหมือนกับ HDSL โดยสายโทรศัพท์แบบ Twisted-pair สามารถส่ง 1.544 Mbps (เอเมริกาและแคนาดา) หรือ 2.048 Mbps (ยุโรป) และการจัดแบ่ง bandwidth ทั้ง 2 ทิศทางเท่ากัน

VDSL
VDSL (Very high rate DSL) เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะให้อัตราข้อมูลสูงในระยะสั้น (ระหว่าง 5.1 ถึง 5.5 Mbps ในระยะ 1000 ฟุต หรือ 300 เมตร) เทคโนโลยีการส่ง ( CAD, DMT หรืออื่น ๆ) ยังไม่มีข้อสรุป ส่วนมาตรฐานกำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำ

HDSL
HDSL ( High bit-rate DSL ) เป็นประเภท DSL ล่าสุดที่มีการใช้กว้างขวางซึ่งสามารถใช้สำหรับการส่งแบบ wideband digital ภายในบริษัท และระหว่างศูนย์บริการกับผู้ใช้ คุณสมบัติหลักของ HDSL คือ มีความสามารถ ซึ่งหมายถึง bandwidth ที่ใช้ทั้ง 2 ทิศทางเท่ากัน ด้วยเหตุผลนี้อัตราข้อมูลส่ง จึงต่ำกว่า ADSL และ HDSL สามารถใช้สายโทรศัพท์ Twisted-pair เท่ากับสาย T 1 ในอเมริกาเหนือและ E 1 ในยุโรป (2 , 320 Kbps )


ความหมายของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Mail หรือที่เราเรียกกันอย่างสั้น ๆ ว่า E-mail ซึ่งเป็นการรับ-ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ไปยังผู้รับที่อาจจะอยู่ที่ใดก็ได้ในโลก การใช้งานอีเมล์ทาให้เราสามารถติดต่อกับผู้คนทั่วโลกได้ทันที โดยที่เราสามารถรับและตอบจดหมายกลับได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ทาให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกรวดเร็วและรู้สึกเพลิดเพลินกับการติดต่อสื่อสารกับผู้คนทั่วทุกมุมโลก จะสั้นหรือยาว การรับส่งอีเมล์ในระบบเครือข่ายจะเป็นไปอย่างถูกต้องได้นั้นจะต้องอาศัยที่อยู่ของทั้งผู้ส่งและผู้รับที่เรียกว่า “อีเมล์แอดเดรส (E-Mail Address)” เป็นตัวอ้างอิง อีเมล์แอดเดรสนี้เป็นชื่อเฉพาะของผู้ใช้แต่ละคน ภายในชื่อนี้จะระบุว่าเป็นอีเมล์ของผู้ใช้รายใด ส่งมาจากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แห่งใด เช่น webmaster@moe.go.th หมายถึงผู้ใช้ที่มีรหัสว่า webmaster จากระบบเครือข่าย moe.go.th จากชื่อของอีเมล์นี้ก็จะสามารถบอกได้ว่า เป็นจดหมายของ ผู้ใด ส่งมาจากที่ใดหรือประเทศใด เหมือนกับการส่งจดหมายทั่ว ๆ ไป

โทรสาร หรือ โทรภาพ (อังกฤษ: facsimile, fax แฟกซ์)
คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมอย่างหนึ่งใช้สำหรับโอนถ่ายข้อมูลสำเนาของเอกสาร ผ่านทางอุปกรณ์บนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เรียกว่า เครื่องโทรสาร หรือ telecopier ในอุตสาหกรรมบางประเภท การส่งสำเนาเอกสารจากระยะไกลไปยังบุคคลหนึ่ง ข้อดีคือรวดเร็วกว่าการส่งทางไปรษณีย์ แต่ข้อเสียคือเอกสารที่ได้รับอาจมีคุณภาพต่ำ และรูปแบบที่จัดวางไว้อาจไม่ตรงตำแหน่งหรือผิดเพี้ยนไป ปัจจุบันโทรสารได้ลดความนิยมลงไป เนื่องจากนิยมส่งเอกสารทางอีเมลแทน ซึ่งจะไม่เกิดข้อเสียดังกล่าว

Voice Mailคือข้อความเสียง เป็นระบบที่ช่วยเก็บเสียงพูด ของผู้ใช้โทรศัพท์ที่ติดต่อเข้ามาในเครื่องบันทึกเสียง จะมีการบันทึกเพื่อฝากข้อความเสียงไว้ ผู้เป็นเจ้าของสามารถที่จะเรียกข้อความเสียงนั้น ขึ้นมาฟังได้ โดยใช้โทรศัพท์จากที่อื่นเข้าไปในสำนักงานหรือศูนย์ที่ฝากข้อความแล้วขอฟังเสียงที่ผู้อื่นฝากไว้หรืออาจจะส่งเสียงนั้นต่อไปให้ผู้อื่นฟังก็ได้

การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)
เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม

การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)
เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย

กรุ๊ปแวร์(groupware)
เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย

การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)
ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM

การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)
เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน

การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์